ขอบเขตการดำเนินการ

เพื่อให้สามารถสรุปประเด็นที่เกี่ยวกับการประยุกต์และบูรณาการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายแบบไร้สายในโรงเรียนนำร่อง จำนวน ๒๐ โรงเรียน จาก ๔ ภูมิภาค โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกโรงเรียนในสังกัดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนดเป็นโรงเรียนนำร่องดังกล่าว  รายละเอียดของขอบเขตการดำเนินการ ดังนี้
  1. จัดทำโครงการพัฒนาต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ตามหลักสูตรแกนกลาง โดยที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้จัดหาทีมงานในการบริหารโครงการและประสานงานดังต่อไปนี้
    1. ผู้จัดการโครงการประจำที่ส่วนกลาง กรุงเทพฯ
    2. บุคลากรให้การบริการ และคำปรึกษาแก่โรงเรียนนำร่อง เมื่อมีปัญหา (ทำงานเต็มเวลา)
      1. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย ๒ คน
      2. นักวิชาการศึกษา  อย่างน้อย ๓ คน
      3. นักเทคโนโลยีการศึกษา  อย่างน้อย ๒ คน
      4. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน อย่างน้อย ๒ คน
      5. มี Help Desk & Support เพื่อให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาของการใช้ต้นแบบหลักสูตรดังกล่าวในห้องเรียนแท็บเล็ต พร้อมหมายเลขโทรศัพท์
  2. จัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นศูนย์กลางของโครงการเพื่อให้เป็นชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน ผ่านชุมชนออนไลน์
  3. ติดตั้งระบบควบคุมและตรวจสอบคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตผ่านทางคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เพื่อให้โรงเรียนสามารถควบคุมดูแลนักเรียนที่ใช้แท็บเล็ตได้
  4. สำรวจ รวบรวม และ ศึกษาข้อมูลสภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ความพร้อมของบุคลากร ผู้บริหาร ครู นักเรียน ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เช่น สำรวจระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำรวจห้องเรียนเพื่อทำผังห้องพร้อมตำแหน่งการวางอุปกรณ์ สำรวจระบบไฟฟ้า ตู้จ่ายไฟเพื่อเป็นข้อมูลการวางอุปกรณ์ของโครงการ สำรวจข้อมูลความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีของผู้บริหารและครู เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับฝึกอบรม
  5. จัดหาและติดตั้งห้องเรียนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายแบบไร้สาย จำนวน ๒๐ โรงเรียน ๆ ละ ๑ ชุด  แต่ละชุดประกอบด้วย
    1. คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต  จำนวน ๔๑ ชุด สำหรับครูและนักเรียน
    2. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย  จำนวน ๑ ชุด
    3. คอมพิวเตอร์แบบพกพาในการสร้างสื่อการสอน พร้อมโปรแกรมประยุกต์สำหรับสร้างสื่อการสอน  จำนวน ๑ ชุด
    4. เครื่องพิมพ์ไร้สาย  จำนวน ๑ ชุด
    5. เครื่องโปรเจคเตอร์  จำนวน ๑ ชุด
    6. อุปกรณ์เชื่อมโยงออนไลน์  จำนวน ๑ ชุด
    7. สถานีเครือข่ายไร้สาย  จำนวน ๒ ชุด
    8. อุปกรณ์จัดเก็บแท็บเล็ตแบบเคลื่อนที่  จำนวน ๒ ตู้ (๑ ตู้ จัดเก็บได้ไม่น้อยกว่า ๒๐ เครื่อง)
    9. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นที่ทำให้ห้องเรียนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายแบบไร้สายได้
    10. การรับประกัน ผู้รับจ้างรับประกันครุภัณฑ์ทุกรายการ เป็นระยะเวลา ๑ ปี นับตั้งแต่วันตรวจรับงวดสุดท้ายเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยการรับประกันดูแลให้ทำงานได้ตามปกติรวมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ผู้รับจ้าง ให้บริการ ณ สถานที่ติดตั้ง (On Site Service) การรับประกันซ่อม / เปลี่ยนฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าแรง ค่าอะไหล่ ค่าเดินทาง ในกรณีที่เกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ
  6. พัฒนาต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามหลักสูตรแกนกลาง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้  และจัดหาตัวอย่างสื่ออิเล็กทรอนิกส์และแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้ครูสามารถนำไปประยุกต์และบูรณาการคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เพื่อการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
  7. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนนำร่องในเรื่องการใช้ต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายในห้องเรียนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต โดยจะจัดประชุม สัมมนาและอบรม ดังนี้
    1. ประชุมสัมมนาเพื่อ
      1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
      2. จัดหา พัฒนาตัวอย่างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า  ๒๐  เรื่องต่อระดับชั้น
      3. คัดเลือกแอพพลิเคชั่นที่เป็นมาตรฐานเหมาะสมกับการเรียนการสอนและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางที่เป็นมาตรฐาน  เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาและปรับปรุง ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ แอพพลิเคชั่นต่อระดับชั้น  ใน ๓ กลุ่มสาระวิชาคือ อังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
      4. จัดหาเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบโครงงาน ผู้เข้าประชุม ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เนื้อหา จากภาคเอกชน มหาวิทยาลัยและครู เจ้าหน้าที่จาก สพฐ. ประมาณ ๑๕ – ๒๐ คน
      5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ / คู่มือครู โดยบูรณาการห้องเรียนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตกับการเรียนการสอน
    2. การจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ระยะเวลา ๑ วัน  ผู้เข้าอบรม ประมาณ ๒๐ คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เนื้อหาการอบรมประกอบด้วย
      1. โรงเรียนในยุค ๓.๐ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑
      2. โครงสร้างลักษณะโดยรวมของการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ต
      3. กรณีศึกษา ตัวอย่างห้องเรียนที่ประสบความสำเร็จของการใช้แท็บเล็ตกับการเรียนการสอน และวิธีการสร้างสรรค์ห้องเรียนในศตวรรษที่ ๒๑
      4. การใช้งานแท็บเล็ตพื้นฐาน
      5. การใช้งานแอพพลิเคชั่นเบื้องต้นที่มากับระบบปฏิบัติการในแท็บเล็ต
      6. แนวทางและแนะนำการคัดเลือกแอพพลิเคชั่นและการนำแอพพลิเคชั่นมาใช้งานจริงในห้องเรียน
      7. ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตในสถานศึกษาต่อองค์กร
      8. ตัวอย่างกรณีศึกษาผลกระทบต่อภาพลักษณ์และผลที่ได้รับจากการใช้งานจริง
      9. แนวทางการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เก็บจากการวัดผลการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อกำหนดนโยบายในสถานศึกษา
      10. อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
    3. จัดอบรมผู้ดูแลระบบเครือข่าย และครูผู้สอนในโครงการนำร่อง ดังนี้
      1. อบรมผู้ดูแลระบบโรงเรียนละ ๑ คน  ๒ วัน โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย
        1. การติดตั้ง บริหารจัดการเครื่องแม่ข่าย
        2. การติดตั้ง บริหารจัดการระบบเครือข่าย
        3. การติดตั้งระบบภายในสถานศึกษา การดูแลรักษา
        4. ปัญหาที่มักพบเจอและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
        5. วิธีการบริหารและการควบคุมห้องเรียน
        6. อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
      2. อบรมครูผู้สอน
        1. หลักสูตร การนำต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ มาประยุกต์และบูรณาการเพื่อการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายแบบไร้สาย โรงเรียนละ ๓ คน  จำนวน ๓ วัน
          1. โรงเรียนในยุค ๓.๐ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑
          2. โครงสร้างลักษณะโดยรวมของการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ต
          3. กรณีศึกษา ตัวอย่างห้องเรียนที่ประสบความสำเร็จของการใช้แท็บเล็ตกับการเรียนการสอน และวิธีการสร้างสรรค์ห้องเรียนในศตวรรษที่ ๒๑
          4. การใช้งานแท็บเล็ตพื้นฐาน
          5. การใช้งานแอพพลิเคชั่นเบื้องต้นที่มากับระบบปฏิบัติการในแท็บเล็ต
          6. การฝึกใช้แท็บเล็ต สำหรับการฝึกเขียนแผนจัดการเรียนรู้
          7. การฝึกใช้แท็บเล็ต เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นและสร้างผลงานวิจัยสำหรับครู
          8. วิธีการบูรณการเทคโนโลยีเพื่อห้องเรียนยุคใหม่
          9. แนวทางการคัดเลือกแอพพลิเคชั่น สื่อการเรียนการสอน และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
          10. การใช้งานแอพพลิเคชั่นที่เน้นการสร้างสรรค์ชิ้นงานแบบอิสระ
          11. การใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานสำหรับการทำงานเป็นกลุ่ม
          12. การใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับการวัดและประเมินผล
          13. การสร้างเนื้อหาการเรียนการสอนด้วยแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูปเบื้องต้น
          14. การใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ วิธีการนำข้อมูลจากการวัดผลในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยและการทำผลงานของครูผู้สอนอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
        2. หลักสูตร การสร้างสื่อการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือติดตั้งในเครื่อง โรงเรียน ละ ๑ คน ระยะเวลา ๒ วัน
          1. ตัวอย่างความสำเร็จของการใช้เนื้อหาการเรียนการสอนที่สร้างมาจากแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป
          2. การแปลงไฟล์เอกสารที่มีอยู่แล้วนำเข้ามาใช้ในแท็บเล็ต
          3. การสร้างเนื้อหาการเรียนการสอนด้วยแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูปขั้นสูง
          4. การนำเนื้อหาที่สร้างไว้มาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน
          5. การบริหารจัดการเนื้อหาภายในห้องเรียน
          6. วิธีการวัดผลจากเนื้อหาที่สร้างเอง และการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยและผลงานของครูผู้สอน
          7. อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
  8. จัดทำคู่มือครู / แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับครูผู้สอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒ ชุดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คู่มือการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และเอกสารประกอบการสอน
  9. ทดลองนำร่องการใช้ต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามหลักสูตรแกนกลาง  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
  10. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ของ สพป.  / สพม.  และ    ผู้ที่เกี่ยวข้อง ๘๐ – ๑๐๐ คน  จำนวน ๓ วัน
  11. ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ประเมินผลและให้คำปรึกษาการใช้หลักสูตรต้นแบบแก่โรงเรียนนำร่อง จำนวน ๒๐ โรงเรียน  อย่างน้อย ๒ ครั้ง
  12. สรุปผลการดำเนินงานของโครงการและนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมกับการนำต้นแบบหลักสูตรไปใช้ในห้องเรียนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต  โดยจัดทำเอกสารในรูปแบบงานวิจัยที่ประกอบด้วยหัวข้อ
    1. รายงานบทสรุปสำหรับผู้บริหารเกี่ยวกับการประเมินการใช้ต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามหลักสูตรแกนกลาง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
    2. รายงานการประเมินโครงการฯ ฉบับสมบูรณ์ ๕ บท เพื่อเสนอผู้บริหาร หน่วยงาน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
    3. เอกสารต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามหลักสูตรแกนกลาง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
    4. คู่มือการใช้หลักสูตร
    5. แผนการจัดการเรียนรู้
    6. คู่มือการอบรม